ใบหม่อน - Mulberry Leaves

หม่อน กับ สรรพคุณ ที่เกินคาด

ใบหม่อน (Mulberry Leaves) ลักษณะเป็นอย่างไร

หม่อน (Mulberry Tree)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus alba Linn.
ชื่อวงศ์ Moraceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
          ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีหลายพันธุ์ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู กว้าง 8-14 ซม. ยาว 12-16 ซม. ผิวใบสากคาย ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบรวมสีขาวหม่นหรือสีขาวแกมเขียว ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก เมื่อสุกสีม่วงแดง

การใช้ประโยชน์จากหม่อน

          ใบ ใช้เป็นอาหารของหนอนไหม และหนอนไหมที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะนำโปรตีนในใบหม่อนไปสร้างเป็นโปรตีนผลิตเป็นเส้นไหม ซึ่งเส้นไหม จะเป็นวัตถุดิบในการผลิตผ้าไหมที่มีความสวยงาม

ใบหม่อน มีสารอะไรบ้าง?

          ใบหม่อน มีสาร flonoid phytoestrogen , triterpene ,ceramide , mulberroside และ น้ำมันหอมระเหย โดย มีการศึกษาพบสาร flavonol glycosides 3 ชนิด คือ quercetin 3-(6-malonyglucoside ) , rutin (quercetin 3- rutinoside ) และ isoquercetin ( quercetin 3- glucoside ) เป็นองค์ประกอบหลักของสาร LDL antioxidant โดยพบ quertin 3-(6-malonyglucoside ) และ rutin เป็นสารที่มีประสิทธิภาพสูงในใบหม่อน (Katsube et al, 2005) และใบหม่อนสามารถนำไปทำเป็นชาสำหรับชงน้ำร้อนดื่มโดยจะทำในรูปชาเขียว ชาจีน และชาฝรั่ง หรือ รับประทานใบและยอดอ่อนโดยตรงโดยการใส่ในต้ม หรือแกงก็ได้

ผลหม่อน มีสารอะไรบ้าง?

          ผลหม่อน มีการพบว่ามีanthocyanins สูง ในผลหม่อนแห้ง มี ไขมัน 63 % กรดอินทรีย์ 27 % แอลกอฮอล์ 1.6 % และพบว่า สารcyanidin – 3-O-?-D-glucopyranoside (C3G ) ที่สกัดจาก anthocyanin ในผลหม่อนสามารถต่อต้านอาการขาดเลือดในสมองได้ (Kang et al , 2005 )และผลหม่อนสามารถรับประทานสด นำไปแปรรูปเป็นน้ำผลหม่อนเข็มข้นหรือพร้อมดื่ม และเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารต่าง เช่นไอศกรีม แยม แยลลี่ ข้าวเกรียบ ขนมพายลูกหม่อน รวมทั้งการผลิตเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทไวน์

ลำต้นและกิ่ง ของหม่อน สามารถทำอะไรได้บ้าง?

          ลำต้นและกิ่ง สามารถใช้เป็นไม้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ทางกีฬาบางชนิดได้ และเยื่อจากเปลือกลำต้นและกิ่งสามารถนำมาทำเป็นกระดาษได้สวยงามเช่นเดียวกับกระดาษสา

ตำราสรรพคุณยาไทย กล่าวว่า

  • หม่อน ใช้แก้ไข้ แก้ไอ ระงับประสาท
  • ใบหม่อน :มีรสจืดเย็น ต้มดื่มแก้ไข้ ตัวร้อน ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไอ ระงับประสาท หรือต้มเอาน้ำล้างตา แก้ตาแดง ตาแฉะ ฝ้าฟาง และยัง มีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจาก หม่อนมีสารสำคัญที่ชื่อ “Fagomine” ซึ่งสามารถกระตุ้นการหลั่งของ Insulin
  • ผล รสเปรี้ยวหวานเย็น ทำให้ชุ่มคอ บำรุงไต ดับร้อน

          นอกจากนี้สารสำคัญจากใบและรากของหม่อนยังสามารถขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ α-glucosidase ซึ่งทำหน้าที่ในการย่อยคาร์โบไฮเดรต เมื่อเอนไซม์ถูกขัดขวาง กระบวนการย่อยแป้งให้ได้กลูโคสจะช้าลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารลดลง

อ้างอิง:

  1. เมดไทย. หม่อน. 2014 [สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2561]; ออนไลน์: https://medthai.com/หม่อน/
  2. กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์เลือก. ประมวลสรรพคุณสมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร , 2558. 292 หน้า
  1. อุไรวรรณ นิลเพ็ชร์ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัย
  2. Lown M, Fuller R, Lightowler H, Fraser A, Gallagher A, Stuart B, Byrne C, Lewith G. Mulberry-extract improves glucose tolerance and decreases insulin concentrations in normoglycaemic adults: Results of a randomised double-blind placebo-controlled study. Plos one. 2017; 22(2):1-14

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

แชร์บทความนี้ :

ติดต่อสอบถาม ได้หลากหลายช่องทาง

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความยอดนิยม

You cannot copy content of this page

Free Shiping