มะระขี้นก

มะระขี้นก ผักรสขมแต่อุดมไปด้วยสารอาหาร

ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :  Momordica charantia  L. 

ชื่อสามัญ : Balsam apple, Balsam pear, Bitter cucumber, Bitter gourd, Bitter melon, Carilla fruit

ชื่ออื่น : มะระขี้นก, มะระเล็ก (ทั่วไป) ผักไห่, มะห่วน, ผักไซ(ภาคเหนือ) ระ (ภาพใต้) ผักสะไล, ผักไส่ (ภาคอีสาน)

 พืชชนิดนี้เป็นในตระกูลพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นไม้เถา เช่นเดียวกับ บวบ แตงกวา โดยมะระขี้นกนั้นเป็น 1 ใน 2 สายพันธุ์ของมะระที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ซึ่งได้แก่ มะระจีน และมะระขี้นก

มะระขี้นก จะมีผลเล็ก และขมกว่ามะระจีน โดยรสชาติขมของมะระนั้นก็มาจากสารเคมีที่ชื่อว่า Momodicine ขณะที่ส่วนใหญ่แล้วนิยมนำผลมะระขี้นกมารับประทานสดกับน้ำพริก หรือไม่ก็ลวกก่อนจะนำมารับประทาน หรือถ้าทนกับกลิ่นเหม็นเขียวและรสชาติขม ๆ ได้ ก็นำมาคั้นหรือปั่นรับประทานเป็นเครื่องดื่มได้เช่นกัน

มะระขี้นก ปริมาณ 100 กรัม ให้คุณค่าทางอาหารดังนี้

  • พลังงาน 17 กิโลแคลอรี
  • ไขมัน 1 กรัม
  • ไฟเบอร์ 12 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 9.8 กรัม
  • แคลเซียม 3 มิลลิกรัม
  • โปรตีน 2.9 กรัม
  • ฟอสฟอรัส 140 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 9.4 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ 2,924 ยูนิต
  • วิตามินบี 1 0.09 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2 0.05 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 0.4 มิลลิกรัม
  • ไทอามีน 0.07 มิลลิกรัม

ประโยชน์ทางยา

  • ใบ   : รสขม คั้นเอาน้ำดื่มแก้ท่อน้ำดีอักเสบ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ไข้ แก้ตัวร้อน ดับพิษร้อน แก้ตับม้ามพิการ แก้ปากเปื่อย ใบสดรสขมลวกหรือต้มกินเป็นยาฟอกโลหิต ยาระบาย ยาถ่ายพยาธิเข็มหมุด เจริญอาหาร หรือใช้ใบแห้งนำมาบด ให้ละเอียดผสมน้ำกินเป็นยาขับพยาธิ ขับลม และบำรุงธาตุ เป็นต้น
  • ใบและผลสด: รสขม ตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียดแน่นท้อง ขับลม เจริญอาหาร บำรุงธาตุ เป็นยาช่วยถ่ายพยาธิ แก้ท่อน้ำดีอักเสบ
  • ดอก    : รสขมร้อน ชงน้ำดื่มแก้หอบหืด แก้พิษ แก้บิด
  • ผลดิบ : รสขมจัด รับประทานบำรุงน้ำดี ทำให้เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย แก้ตับม้าม อักเสบ ขับพยาธิ แก้เจ็บปวดอักเสบจากพิษต่างๆ เป็นยาระบายอ่อนๆ คั้นเอาน้ำอมแก้ปากเปื่อย, หั่นตากแห้งชงกับน้ำดื่ม แก้เบาหวาน ผลสด รสขมจัด ผลอ่อนมีวิตามินซีสูงมาก นำมาต้มหรือประกอบอาหาร ต้มน้ำดื่มแก้ไข้ ลดการเกิดต้อกระจก มีคุณค่าในการช่วยบำบัดโรคเบาหวาน บำรุงธาตุ แก้ปากเป็นฝ้าเป็นขุย บำรุงน้ำดี เจริญอาหาร บำรุงโลหิตระดู แก้ตับม้ามอักเสบ ขับพยาธิ แก้ลมเข้าข้อ เป็นยาระบายอ่อนๆ หรือใช้ผลแห้งบดให้ละเอียด โรยบริเวณที่เป็นแผล ทาแก้คัน แก้พิษฝี แก้บวม ต้านเชื้อไวรัสและมะเร็ง 
  • ผลสุก : เป็นพิษมี saponin มากทำให้ท้องร่วงและอาเจียน หิต โรคผิวหนัง
  • เมล็ด  : รสขม แก้พิษ เป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มพูนลมปราณ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ขับพยาธิตัวกลม
  • ราก  : รสขม ใช้ปรุงเป็นยาบำรุง ฝาดสมาน แก้ริดสีดวงทวาร เป็นยาธาตุ แก้ไข้ แก้พิษร้อน แก้บิด ถ่ายอุดจาระเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร แผลฝีบวมอักเสบ ปวดฟันที่เกิดจากลมร้อน สมานแผล คุมธาตุ บำรุงธาตุ
  • เถาว์ : บำรุงน้ำดี ยาระบายอ่อนๆ ดับพิษดีและโลหิต แก้ไขเพื่อดีพิการ แก้พิษทั้งปวง เจริญอาหาร แก้โรคลมเข้าข้อ เท้าบวม แก้ปวดตามข้อนิ้วมือและนิ้วเท้า แก้โรคม้าม แก้โรคตับ ขับพยาธิในท้อง แก้พิษน้ำดีพิการ กัดเสมหะ แก้บิด แก้ฝีอักเสบ แก้ปวดฟัน แก้ไข้
  • ใบและราก : รสขม แก้โรคเบาหวาน
มะระขี้นก

มะระขี้นก กับ เบาหวาน สมุนไพรโดดเด่นลดน้ำตาลได้ดีเยี่ยม

ในมะระขี้นกมีสารซาแรนติน (Charatin) สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือด ต้านอาการของโรคเบาหวานในหลาย ๆ กลไก ได้แก่ 

  • ช่วยเพิ่มการหลั่งของอินซูลินจากตับอ่อน 
  • ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ 
  • กระตุ้นการเผาผลาญน้ำตาล 
  • และเพิ่มความทนทานจากกลูโคส 
  • ยับยั้งการหลั่งของกลูโคสในลำไส้เล็ก 
  • ยับยั้งเอนไซม์กลูโคไซเดส อันเป็นสาเหตุของอาการเบาหวานได้

และมะระสามารถชะลอความผิดปกติของไต และความเสื่อมของเส้นประสาทภายในร่างกายที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงสะสมเป็นเวลานาน ยังช่วยชะลอการเกิดโรคต้อกระจกในผู้ป่วยเบาหวานได้อีกด้วย หากรับประทานเป็นประจำก็สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติได้ด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 194.
  2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. มะระขี้นช่วยต้านเบาหวาน [บทความออนไลน์.] เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th
  3. สุภาภรณ์ , อำนาจ , ณัฐดนัย. วารสารเภสัชกรรม. ประสิทธิผลของแคปซูลมะระขี้นกต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในอาสาสมัครที่มีภาวะก่อนเบาหวาน, 2564.

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

แชร์บทความนี้ :

ติดต่อสอบถาม ได้หลากหลายช่องทาง

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความยอดนิยม

You cannot copy content of this page

Free Shiping